โปรแกรม Dev c++
รูปแบบของการเขียนโปรแกรม
ชนิดของข้อมูล ประกอบไปด้วย
1. character (char) ใช้ 1 byte บน Dos มีค่า -128 ถึง127 นิยมใช้เก็บตัวอักษร 1 ตัวอักษร
2. integer (int) ใช้ 2 byte มีค่า -32768 ถึง 32767 และยังมี long ซึ่งคล้าย integer แต่เก็บด้วย
ช่วงตัวเลขที่ยาวกว่าจึงกินเนื้อที่ ถึง 4 byte
3. float ใช้ 2 byte ใช้เก็บตัวเลขทศนิยม และยังมี double ซึ่งคล้าย float แต่เก็บด้วยช่วงตัวเลขที่ยาวกว่าจึงกินเนื้อที่ถึง 4
byte
4. ในภาษา C จะไม่มีชนิดข้อมูลเป็น string แต่จะใช้สายของอักษร
หรือ Array ของ Char แทนความจริงแล้ว ชนิดของข้อมูลยังสามารถจำแนกไปได้อีกมาก
แต่ในที่นี้ขอแนะนำเพียงเท่านี้ก่อน ก็เพียงพอ
การประกาศตัวแปร
ในภาษา C หากต้องการใช้ตัวแปร
จะต้องทำการประกาศตัวแปรไว้ที่ส่วนบนก่อนที่จะถึงบรรทัดที่เป็นประโยคคำสั่ง
การประกาศตัวแปรจะเป็นการบอก compiler ว่าตัวแปรของเรานั้นเป็นตัวแปรชนิดใด
Datatype
|
Keyword
|
character
integer float double |
Char
int float double |
ส่วนประกอบของโปรแกรม Dev-C++
โปรแกรม Dev-C++ ประกอบด้วย 6 ส่วนหลัก ๆ คือ
(1)
ส่วนของไตเติลบาร์ (Title Bar) เป็นแถบที่อยู่บนสุดของโปรแกรม มีสีน้ำเงิน
และจะมีชื่อของชุดพัฒนาโปรแกรมภาษาซี คือ Dev-C++
(2) ส่วนของเมนูบาร์ (Menu Bar) ส่วนนี้เป็นส่วนของเมนูคำสั่งต่าง ๆ 11 รายการคือ File Edit Search View Project Execute Debug Tools CVS Window Help
(3) ส่วนของทูลบาร์ (Tool Bars) เป็นส่วนของเครื่องมือ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนและพัฒนาโปรแกรม ซึ่งจะคล้ายกับการใช้เมนู แต่สามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ บนแถบเครื่องมือแทนการทำงานผ่านเมนู
(4) ส่วนของการแสดง Project/Classes/Debug เป็นส่วนที่อยู่ทางด้านซ้ายของโปรแกรม ใช้เพื่อแสดง Project หรือ Class ต่าง ๆ ของโปรแกรม
(5) ส่วนของพื้นที่การเขียนโปรแกรม (Editor) เป็นส่วนของพื้นที่ทำงานในการเขียนโค๊ดโปรแกรมภาษา C
(6) ส่วนแสดงสถานะของโปรแกรม (Status) อยู่ด้านล่างสุด ใช้เพื่อบอกสถานะต่าง ๆ ในขณะที่กำลังพัฒนาโปรแกรม เช่น จำนวนบรรทัดทั้งหมด หรือสถานะการพิมพ์แทรก/พิมพ์ทับ
(2) ส่วนของเมนูบาร์ (Menu Bar) ส่วนนี้เป็นส่วนของเมนูคำสั่งต่าง ๆ 11 รายการคือ File Edit Search View Project Execute Debug Tools CVS Window Help
(3) ส่วนของทูลบาร์ (Tool Bars) เป็นส่วนของเครื่องมือ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนและพัฒนาโปรแกรม ซึ่งจะคล้ายกับการใช้เมนู แต่สามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ บนแถบเครื่องมือแทนการทำงานผ่านเมนู
(4) ส่วนของการแสดง Project/Classes/Debug เป็นส่วนที่อยู่ทางด้านซ้ายของโปรแกรม ใช้เพื่อแสดง Project หรือ Class ต่าง ๆ ของโปรแกรม
(5) ส่วนของพื้นที่การเขียนโปรแกรม (Editor) เป็นส่วนของพื้นที่ทำงานในการเขียนโค๊ดโปรแกรมภาษา C
(6) ส่วนแสดงสถานะของโปรแกรม (Status) อยู่ด้านล่างสุด ใช้เพื่อบอกสถานะต่าง ๆ ในขณะที่กำลังพัฒนาโปรแกรม เช่น จำนวนบรรทัดทั้งหมด หรือสถานะการพิมพ์แทรก/พิมพ์ทับ
ภาษาซี มีลักษณะเด่น(ข้อดี) ดังนี้
- เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีการพัฒนาขึ้นใช้งานเพื่อเป็นภาษามาตรฐานที่ไม่ขึ้นกับโปรแกรมจัดระบบงานและไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์
-เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่อาศัยหลักการที่เรียกว่า "โปรแกรมโครงสร้าง" จึงเป็นภาษาที่เหมาะกับการพัฒนาโปรแกรมระบบ
- เป็นคอมไพเลอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง
ให้รหัสออบเจ็กต์สั้น ทำงานได้รวดเร็ว เหมาะกับงานที่ต้องการ ความรวดเร็วเป็นสำคัญ
- มีความคล่องตัวคล้ายภาษาแอสแซมบลี
ภาษาซีสามารถเขียนแทนภาษาแอสแซมบลีได้ดี ค้นหาที่ผิดหรือ แก้โปรแกรมได้ง่าย ภาษาซีจึงเป็นภาษาระดับสูงที่ทำงานเหมือนภาษาระดับต่ำ
- มีความคล่องตัวที่จะประยุกต์เข้ากับงานต่างๆ
ได้เป็นอย่างดี การพัฒนาโปรแกรม เช่น เวิร์ดโพรเซสซิ่ง สเปรดชีต
ดาตาเบส ฯลฯ มักใช้ภาษาซีเป็นภาษาสำหรับการพัฒนา
- เป็นภาษาที่มีอยู่บนเกือบทุกโปรแกรมจัดระบบงาน
มีในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 8 บิต ไปจนถึง 32 บิต เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ และเมนเฟรม
- เป็นภาษาที่รวมข้อดีเด่นในเรื่องการพัฒนา
จนทำให้ป็นภาษาที่มีผู้สนใจมากมายที่จะเรียนรู้หลักการของภาษา และวิธีการเขียนโปรแกรม ตลอดจนการพัฒนางานบนภาษานี้
ข้อเสีย
- เป็นภาษาที่เรียนรู้ยาก
- การตรวจสอบโปรแกรมทำได้ยาก
- ไม่เหมาะกับการเขียนโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการออกรายงานที่มีรูปแบบซับซ้อนมากๆ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น